ทราบหรือไมว่า Sony เคยทำการปัฏิเสธสิทธิ์ตัวละครทีม Avengers แบบเหมายกชุดจากทาง Marvel มาแล้วด้วยราคาที่ถูกแสนถูกจนชวนงง
ก็เหมือนกับเรื่องของการลงทุนเก็งผลกำไรทุกสินทรัพย์ทุกอย่างบนโลกใบนี้ ที่พอผ่านกาลเวลามาบางอย่างก็มีค่า บางอย่างก็กลับไร้มูลค่า บางอย่างที่ดูแสนจะไม่มีค่ากลับมามีคุณค่าซะอย่างงั้น สินทรัพย์เช่นนี้อีกชนิดหนึ่งในโลกภาพยนตร์ที่มีการกล่าวถึงกันอยู่บ่อยครั้ง และก็ขอยกมาเล่ากันในวันนี้อีกครั้ง นั่นก็คือสิทธิ์ในการสร้างหนังจากตัวละครของ Marvel Studios ที่วันนี้กลับกลายเป็นแฟนไชส์หนังที่ทำรายได้มากที่สุดในโลก และทำให้ค่ายหนังอย่าง Disney มีของตายว่าจะมีหนังที่สามารถทำกำไรไม่เฉียดก็ทะลุพันล้านแน่ๆ มาให้อุ่นใจในทุกปี ในตอนนนั้น Sony ตัดสินใจซื้อแบบขอไปทีในราคาที่ยิ่งกว่าเศษเงิน
แต่ถ้าหากเราลองมองย้อนกลับไปในช่วงปี 1998 ที่มาการสร้างหนังซูเปอร์ฮีโรในช่วงเวลานั้นก็คือ หนังประเภทท้าย ๆ ที่ฮอลลีวูดคิดจะสร้าง เพราะในยุคสมัย80s-90sนั้น ไม่มีหนังแนวนี้ออกมาจากจักรวาลดีซีที่สามารถประสบความสำเร็จได้แบบเป็นชิ้นเป็นอันได้เลย (แต่ถ้าว่าจะเป็นหนังจากทางดีซีที่สามารถประสบความสำเร็จได้ก็เห็นจะมีแค่ Batman & Robin 1997 ) ซึ่งแตกต่างจากฝั่งทางมาร์เวลที่ลุ่มๆ ดอน ๆ ในตลอดเวลา 2 ทศวรรษนั้น หนัง Howard the Duck (1986) และหนังที่ถูกส่งตรงลงโฮมวิดีโออย่าง The Punisher (1989) / Captain America (1990) และ The Fantasic Four (1994) คือความหายนะดีๆที่ทำให้ไม่เจ้าไหนให้ความสนใจอยากจะหยิบหนังของมาร์เวลไปสร้างสรรค์ผลงาน
รายงานข่าวย้อนอดีตชิ้นนี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ The Big Picture :The Fight for the Future Movies เล่าว่า ในช่วงปี 1998 ทาง มาร์เวล กำลังประสบกับปัญหาทางด้านการเงินอย่างมากจนอยากจะขายทรัพย์สินทึกอย่าง ที่มีอยู่ในมือให้ได้มากที่สุดเพื่อประคองบริษัทหลังจากประกาศเข้าสู่ภาวะล้มละลาย 2 ปีก่อนหน้านั้น Yair Landau ผู้บริหารของทาง Sony Pictures ในตอนนั้นกำลังอยากได้สิทธิ์สร้างหนังสไปเดอร์แมนอยู่พอดี แต่ CEO ของทางมาร์เวลในเวลานั้นอย่าง Ike Perlmutter บอกกลับว่าไม่อยากขายสิทธิ์ตัวละครแค่เพียงตัวเดียว เพราะอยากเสนอขายสิทธิ์แบบเหมายกชุดเกือบทุกตัวละครดังให้กับทาง Sony ไปเลย ทั้งไอออนแมน / ธอร์ / แบล็ค แพนเธอร์ และแอนท์ แมน ราคารวมกันได้เพียง 25 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น ซึ่งถ้าเทียบกันในยุค 12 ปีที่ผ่านมา เงินเพียงจำนวนนี้ยังไม่ได้ค่าตัวของนักแสดงนำบางคนด้วยซ้ำ
เมื่อ Landau ได้นำข้อเสนอนี้ไปถามกับทีมบริหารของ Sony ในเวลานั้นว่าสนใจหรือไม่ ผู้บิรหารระดับสูงหลายคนต่างมีความคิดเห็นตรงกันและตอบอย่างรวดเร็วว่า
“ไม่มีใครให้ความสนใจในตัวละครของมาร์เวลหรอก คุณกลับไปซื้อแค่ สไปเดอร์แมนก็เพียงพอแล้ว “
(ซึ่งนับว่าเป็นทางเลือกที่ถูกเพราะสไปเดอร์แมนคือตัวละครที่ดังจริง ๆ จากในคอมิก ณ ช่วงเวลานั้น )
สุดท้ายทาง Marvel Studios ก็ทำการสิธิ์ตัวละครสไปเดอร์แมนเพียงตัวเดียวให้กับทาง Sony ไปในราคา 7 ล้านเหรีญฯ
นั่นจึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ไอ้แมงมุมแยกจากทาง Marvel Studios ไปอยู่กับทางค่าย Sony (อาจจะรวมกับตัวละครอีกตัวที่ไปอยู่ค่ายนี้ก็คือ Ghost Rider )
และมีหนังภาคแรกของไตรภาคผู้กำกับ Sam Raimi ออกมาจำนวน 3 ภาค (สามารถทำรายได้ไปทั่วโลก 2,509 ล้านเหรีญฯ จากทุนสร้างจำนวนเพียง 139 ล้านเหรีญฯ ) และกลายเป็นความสำเร็จระดับถล่มทลายครั้งแรกของตัวละครฝั่งมาร์เวล
โดยก่อนหน้านี้ก็มี ไตรภาคของเบลดของค่าย New Line Cinema ที่กลายเป็นหนัง 3 ภาค (1998-2004) ส้รางความสำเร็จระดับพอประมาณ และก็มีหนัง X-Men ไตรภาคแรกของทางค่าย 20th Century Fox (2000-2005) ที่ตีคู่เรื่องความสำเร็จมากับทางสไปเดอร์แมน (แต่มีหนังที่ไม่ประสบความสำเร็จอย่าง Daredevil (2003) รวมอยู่ด้วย)
จะอย่างไรก็ตามแต่ หลังจากนั่นทางสตูดิโอ มาร์เวล ก็ได้เริ่มหาเส้นทางของตัวเองและหาจุดยืนของตัวเองได้ จนสามารถสร้างหนังจากตัวละครนอกสายตาและไม่อยู่ในแถวหน้าของตัวละครดังของมาร์เวลอย่าง ไอรอนแมน และ ฮัลค์ออกมาได้ภายในปี 2008 ภายใต้สตูดิโออย่าง Paramount ก่อนที่จะเริ่มเดินหน้าสร้างหนัง กัปตันอเมริกาและธอร์ด้วยตัวเอง และค่ายใหญ่ของวงการอย่าง Disney ก็มองเห็นเนื้อชิ้นงามจึงทุ่มซื้อมาร์เวลก่อนใครในปี 2009 ด้วยราคา 4,000 ล้านเหรียญฯ ที่บอกเลยคุ้มยิ่งกว่าคุ้มเพราะเพียงแค่ไม่กี่ปีหลังจากที่ซื้อ ถ้าหากทาง Sony จะคิดเสียดายต้นทุนค่าเสียโอกาสในที่นี้ ก็ต้องมองที่เม็ดเงินจากหนัง 24 เรื่องที่ทาง MCU ทำรายได้รวมกันไปแล้วมากถึง 22.577 ล้านเหรียญฯ แค่นั้นเอง
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจของพวกเราที่ : FlowเดอะFlim