รีวิว Dr.Strange and the Multiverse of Madness
“Story” ทุกอย่างถูกเล่าอย่างฉับไว อัดแน่นไปด้วยภารกิจที่ตัวละครต้องทำ ทำให้เรื่องอัดแน่นไปด้วยความสนุกและความสยองจากลายเซ็นของผู้กำกับ แซม ไรมี่ ที่ทำให้ “Movies” เรื่องนี้มีกลิ่นอายที่ต่างไปจากเรื่องอื่น ๆ อย่างชัดเจน และความเป็นเขาก็พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงตอนจบ ด้วยองค์ประกอบที่มีทั้ง “chase scene” พร้อมจังหวะตุ้งแช่ให้ตกใจเล่นบ้าง เห็นการตายจะ ๆ เท่าที่ภาพยนตร์เรต PG-13 จะไปได้ถึง หรือมีความเป็นหนังซอมบี้
แถมพกด้วย “salongkwan scene” ที่ดู ๆ ไปก็คล้าย ๆ จอมขมังเวทย์แบบไทย ๆ อยู่เหมือนกัน กับการใช้คำภีร์ดาร์กฮอล์ต ที่มีทั้งสิงร่าง เอาเทียนล้อม อุปกรณ์สกัดมารต่าง ๆ ในเรื่อง พร้อมกับ “action scene” ที่ออกแบบมาอย่างอลังการโดยมีฉากที่น่าประทับใจเป็นพิเศษอยู่สองฉากคือ ฉากการทะลุ “Multiverse” สของอเมริกาและเสตรนจ์ และฉากต่อสู้ด้วยโน้ตดนตรีที่ดึงให้ “Underscore” ข้างหลัง (ที่ให้อารมณ์คลาสสิกสไตล์แฟรงเกนสไตน์) ดูโดดเด่นขึ้นมาและสอดประสานไปกับฉากการต่อสู้ได้อย่างลงตัว
รวม ๆ แล้วเรื่องก็เป็นไปตามสูตรและ “standard” ของ “Marvel” มีมุขให้ขำมุมปากบ้างตามเรื่องแต่ก็ยังนับว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีโทนเรื่องหนักกว่าบางเรื่องอยู่พอสมควร ด้วยส่วนที่เป็น “Drama” ที่ถูกเล่าในเวลาที่จำกัดและด้วยความที่ตัวละครมีภารกิจมากมายให้ทำ ถ้านี่นี้เป็น “Marvel movies” เรื่องแรกของคุณ มันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสักเท่าไหร่
เพราะถึงแม้เส้นเรื่องของ Dr Strage 2 นั้นไม่ได้ตามยากอะไร แต่เหตุผลของ “character” จะดูเบาบางไปถนัดใจถ้าไม่ได้ดูซีรีส์ที่กล่าวมาข้างต้น และนอกจากนี้ก็ยังไม่เหลือเวลาให้ผู้ชมได้ “binding” กับตัวละครใหม่อื่น ๆ มากนัก
ถึงแม้เรื่องจะมีจุดอ่อนเรื่องการปูอดีตให้คนดูเข้าใจ “Character” ได้อย่างเต็มที่ในเวลาที่จำกัดอยู่บ้าง แต่ถ้าใครที่เคยดู “Wanda-Vision” มาก็จะได้เห็นพัฒนาการที่เจ็บปวดแต่งดงามของตัวละครอย่างชัดเจนผ่านทางการแสดงอันทรงพลังของ อลิซาเบธ โอลเซ่น ที่ค่อย ๆ กลายร่างจากหญิงสาวที่ “Fortune” พรากคนรักและครอบครัวไป จนมุ่งมั่นอยู่แค่เพียงต้องการให้ทุกอย่างกับมาสมบูรณ์ตามเดิมจนเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง ชูประเด็นที่ “Profound” อย่างการพยายามไล่ตามภาพฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงจนไม่สามารถก้าวต่อไปในชีวิต
“Multiverse” ในเรื่องนี้จึงเปรียบได้กับความเป็นไปได้ของชีวิตที่มีอยู่นับร้อยนับพัน หากทางเลือก ปัจจัยแวดล้อม หรืออะไรต่าง ๆ ในชีวิตนั้นแตกต่างไป สะท้อนผ่านการที่ตัวละครสามารถเห็นมันใน “dream” แต่มันสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้หากข้ามไปได้ถึงตรงนั้น แต่ถ้าเราติดอยู่กับแค่ความเป็นไปได้ โดยที่ “Refuse” ที่จะหันมามองสิ่งที่เป็นอยู่จริง ๆ อย่างที่วันด้าเป็นชีวิตก็จะมีแต่ความทุกข์
นอกจากนี้อ้างอิงจากการที่ “family portrait” แสนสุขของ “Wanda” มากจากซีรีส์ที่เธอดู และการที่เธอพูดว่าทุกคน “be happy” กับครอบครัวนอกจากเธออาจจะเป็นการ “small reference” ถึงชีวิตทุกวันนี้ที่เรามองเห็นชีวิตของผู้คนอีกมากมายและเปรียบเทียบมันกับตัวเองจนเกิดเป็นความทุกช์ใจ
สองประเด็นนี้เน้นย้ำให้เห็น “main heart” ของเรื่องที่เหมือนกับต้องการจะสื่อว่า การยอมรับความเป็นจริงของชีวิตนั่นคือตอนจบที่แสนสุขที่สุดแล้ว
นอกจากนี้ยังมี “issue” ความเห็นแก่ตัวที่ซ่อนมาในรูปของความรักราวกับจะสื่อสารกับเหล่าผู้ปกครองที่พาเด็ก ๆ มาชมภาพยนตร์ ว่าหลายครั้งการทำทุกอย่างที่บอกว่าจะทำเพื่อลูก เพื่อควาเป็น “family” เป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครได้รับผลกระทบนั้นหลายครั้งเป็นความเห็นแก่ตัวที่ซ่อนอยู่ และบางครั้งอาจ “Escalate” เป็นเรื่องใหญ่ได้
นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่ดีงามตามมาตราฐานของ “Benedict Cumberbatch” ซึ่งช่วยเป็นสะพานเชื่อมช่องว่างของการเล่าเรื่องที่ไม่ได้ “Explain” ที่มาที่ไปของบางอย่างได้ละเอียดนัก (ถึงแม้จะมีจุดอ่อนเรื่องการเคลื่อนไหวแบบซอมบี้ที่ดูเขาจะไม่ค่อยสันทัดเท่าไรนัก) การเล่าเรื่องเร็วและภารกิจมากมายของ “Character” จึงเป็นเหมือนดาบสองคมที่ทำให้สนุก
แต่ก็ทำให้เส้นเรื่องที่เน้น “Drama” ของตัวละครนั้นขยุกขยักไปบ้าง ยังไม่นับ “combine scenes” ที่รายละเอียดน้อย ๆ เอาใจแฟนคลับมาร์เวลอย่างแขกรับเชิญอื่น ๆ ที่ถ้าคุณไม่ได้เป็นแฟนตัวยงประมาณหนึ่งบางทีก็อาจจะจำตัวละครที่มา “Invited” บางตัวไม่ได้ด้วย แต่ถ้าใครเป็นแฟนมาร์เวลก็คงจะได้กรี๊ดกร๊าดอยู่หลายฉากกับเซอร์ไพร์สที่ซ่อนไว้
ทั้งหมดนี้ทำให้ “Dr Strange and the Multiverse of Madness” จอมเวทย์มหากาฬ ใน “multiverse disaster” เป็น “movies” ที่สนุกชวนดู ถึงแม้จะไม่ได้เรียกว่าดีที่สุดตั้งแต่เคยดูมา แต่ก็มี “Novelty” ผสมกับอะไรที่คุ้นเคย และเนื้อหาซึ้ง ๆ ประมาณหนึ่งมาให้เพลิดเพลินได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
รับชมตัวอย่างหนัง : Dr.Strange and the Multiverse of Madness