รีวิว RRR น้องกูอยู่ไหน
หนังเล่าเรื่องผ่าน “character” หลัก 2 คน คือ “Ram” รับบทโดย ราม จารัน (Ram Charan) นายตำรวจผู้เคร่งขรึมจริงจังที่รับใช้พวกอังกฤษเพื่อหวังไต่เต้าขึ้นเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้วยเพราะมีปมฝังใจในวัยเด็ก แม้จะทำ “performance” ได้โดดเด่นอย่างการฝ่ากองทัพชาวบ้านที่เดือดดาลและล้อมโรงพักไว้ด้วยมือเปล่าจนจับหัวโจกได้ ทว่าเขาก็ยังถูก “bias” จากหัวหน้างานที่เลื่อนตำแหน่งให้แค่พวกชาวตะวันตกด้วยกันเท่านั้น หนังนำเสนอ “wrath” ที่รามพยายามกดข่มไว้ราวกับเปลวเพลิงที่รอวันระเบิด
อีกด้าน ภีม รับบทโดย เอ็น.ที. รามา เรา จูเนียร์ (N.T. Rama Rao Jr.) เป็นชายชาว “Native” ที่อยู่ในชนบท ชีวิตผูกสัมพันธ์กับลำธารและผืนป่า รวมถึงการเอาตัวรอดจาก “Beast” ทั้งสุนัขป่าหรือเสือโคร่ง เขาถูกขนานนามเป็นนักรบที่ปกป้องดูแลเผ่าให้ปลอดภัยอยู่เสมอ ครั้นเมื่อมีเด็กสาวถูก “parent” อังกฤษที่มาเที่ยวป่าลักพาตัวไปเลี้ยง ภีมจึงต้องออกจากป่าเข้าเมืองมาเพื่อพาเด็กสาวกลับบ้าน “story” ตรงนี้ให้นึกภาพ ‘องก์บาก’ หรือ ‘ต้มยำกุ้ง’ ก็ไม่ผิดนัก ต่างตรงที่ภีมนั้นเป็นคน “good mood” ใจซื่อยิ้มง่าย คล้ายกับน้ำที่ฉ่ำเย็น หากแต่ยามคับขันเขาก็เหมือนน้ำป่าที่เชี่ยวกรากได้เช่นกัน
แน่นอนว่าที่สุดทั้งคู่ต้องมาเจอกัน ในระหว่างที่รามได้รับ “mission” สืบหานักรบชนเผ่าที่จะมาเอาเด็กคืน ซึ่งหากสำเร็จเขาจะได้ลัดขั้นตอนเลื่อนขั้นได้เลยเป็นความหวังหลังถูกมองข้ามหัวมานาน รามก็ได้มาพบ “event” ที่รถไฟตกรางจนเด็กชายคนหนึ่งอยู่ใน “dangerous” กลางกองเพลิง และที่เดียวกันนั้นภีมก็อยู่ด้วย ชายสองคนที่ไม่รู้จักกันมองตาแล้วเข้าใจกันแทบในทันที ทั้งคู่ร่วมมือกันจนช่วยเด็กชายคนนั้นไว้ได้ และก่อเป็นความสัมพันธ์แน่นแฟ้นของ “blood brothers” รามและภีม โดยที่ทั้งคู่ไม่รู้เลยว่าต่างมีตัวตนที่ซ่อนไว้แถมยังเป็นปฏิปักษ์กันด้วย คนหนึ่งเป็นตำรวจ อีกคนเป็น “rebel” ให้คนดูลุ้นตัวโก่งกับการเฉี่ยวกันไปคลาดกันมาที่จะรู้ความจริง
และนี่คือที่มาของชื่อเรื่อง “RRR” ที่หมายถึง “Rise Roar Revolt” เป็นการสร้าง “fictional character” ขึ้นมาเป็นตัวแทนเพื่อสดุดีเหล่าวีรชนที่ต่อสู้กับพวกจักรวรรดิ์อังกฤษในยุค 1920 ก่อนอินเดียจะได้รับเอกราชในท้ายสุด
ในแง่ที่เราเป็น “audience” ที่คงไม่ได้อินไปกับเรื่องราวการต่อสู้ของคนอินเดีย ยิ่งเหล่าวีรบุรุษของเขาที่ปรากฏในเพลงตอนท้ายยิ่งไม่คุ้นหน้าสักคนก็ต้องบอกว่า หนังเรื่องนี้ถึงจะเป็นโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) แต่ก็เป็นการชวนเชื่อที่สนุกมาก ด้วยวิธีการนำเสนอแบบเกินจริงสไตล์หนังอินเดียใต้ที่ “Over” แต่ก็ถูกจริตแฟนตาซี เปรียบไปก็คล้ายหนังกำลังภายในของ โจว ซิงฉือ (Stephen Chow) ที่ดูทั้งตื่นตาตื่นใจ ดุดันและมีอารมณ์ขันแผงอยู่ในนั้นด้วย
แต่ความสำเร็จจริง ๆ ของหนังอาจต้องบอกว่า คือการทำให้คนดูอินกับการนำเสนอ “villain” ได้อย่างน่าเอาน้ำมันทอดโรตีสาดหน้ามาก ๆ เพราะคู่สามีภรรยาผู้ปกครอง “British” ที่ฝ่ายสามีก็มักมีประโยคเด็ดอย่าง รู้ไหมว่ากระสุนของอังกฤษลูกหนึ่งมีมูลค่าเท่าไหร่ พวกชาวบ้านนี่ไม่มีค่าขนาดนั้นไปหาวิธีอื่นประหารซะ หรือตัว “Wife” ที่เล่นหน้าเล่นตาน่าหมั่นไส้เป็นปี่เป็นขลุ่ยกับ “husband” พอตัวร้ายมันทำได้ถึง การเล่าเรื่องที่เหลือก็ไม่ยากแล้ว คนดูพร้อมอวยเอาใจช่วยพวกพระเอกสุดลิ่มทิ่มประตู
และแน่นอนพูดถึง “indian movie” ขาดไม่ได้เลยคือเพลงและโชว์การ “dancing” เป็นอีกเรื่องที่ทำเพลงออกมาได้ไพเราะไม่ว่าจะฉากฮึกเหิมตื่นเต้นหรือ “drama scene” น้ำตาท่วมจอ และที่สำคัญท่อนฮุกก็เล่นซะติดหูแม้จะฟังไม่ออก ในขณะเดียวกันการ “Design” ฉากเต้นรำต่าง ๆ ก็ทำได้ยิ่งใหญ่มาก ขนาดไม่ได้ดูหนังอินเดียบ่อยนักยังรับรู้ถึงศิลป์และศาสตร์ที่เขาทำต่อยอดจนกลายเป็น “Craft” ในปัจจุบันนี้ได้อย่างดี
สม “Value” ทุนสร้าง 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงที่สุดของ “indian movie” ที่เคยสร้างมา และทำเงินคืนมาได้กว่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของหนังในอินเดียตลอดกาลด้วย เรียกว่าเป็นหนังที่ตั้งใจมาทำลาย “statistics” ในทุกแง่มุมจริง ๆ
จากที่ว่ามาต้องบอกว่าทั้งเนื้อเรื่องที่มี “conflict” พลิกผันน่าเอาใจช่วยตัวละครทั้ง 2 ตลอดเวลา ประกอบกับการออกแบบฉากต่าง ๆ ทั้งการต่อสู้ ฉากเต้นหรือ “drama scene” ผ่านทั้งภาพและเพลงที่เพลินสุด ๆ ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าความยาวกว่า 3 ชั่วโมงของหนังแทบไม่เป็นอุปสรรคเลยแม้แต่น้อย
รับชมตัวอย่างหนัง : RRR น้องกูอยู่ไหน