รีวิว Smile สุดแรงด้วยบรรยากาศยิ้มหลอน
รีวิว Smile สุดแรงด้วยบรรยากาศยิ้มหลอน โดยหนังเรื่องนี้ได้ไปคว้ารางวัล รางวัลชมเชยพิเศษ จากสายการประกวด Midnight Short Award จากเทศกาลหนัง SXSW Film Festival 2020 และคว้ารางวัลจาก Fantastic Fest 2022 งานประกวดหนังสายแปลกมาก่อนหน้านี้ด้วย จนในที่สุด ฟินน์ก็ได้มีโอกาสนำเอาหนังสั้นเรื่องนี้มาพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นต่อกลายเป็นหนังยาว โดยตอนแรกตัวหนังเรื่องนี้เกือบจะได้กลายเป็นหนังออริจินัลบนสตรีมมิง Paramount+ แต่ด้วยความที่ตอนฉายรอบ ตรวจคัดกรอง กระแสกลุ่มคนดูค่อนไปทางบวก ผู้บริหารก็เลยไฟเขียวให้พัฒนาต่อไปเป็นหนังฉายโรงแทนอย่างที่เห็นกัน
“Story” ของ ‘Smile’ เริ่มต้นที่ ดร.โรส คอตเตอร์ (โซซี่เบคอน) จิตแพทย์สาวที่บังเอิญได้พบเจอเหตุการณ์ประหลาดสะเทือนใจของ ลอรา วีฟเวอร์ (เคทลิน สเตซี่ย์) นักศึกษาสาวผู้ป่วยจิตเวชคนหนึ่ง ที่มาพร้อมกับรอยยิ้มสุดสะพรึง เหตุการณ์นั้นทำให้เธอต้องประสบพบเจอกับเรื่องที่เกิดสุดยองครอบงำตามติดเธอเป็นเงา แถมยังไม่สามารถจะอธิบายให้ใครฟังได้ เธอจึงต้องเผชิญกับอดีตอันแสนสะเทือนใจ และพยายามหลบหนีสิ่งลี้ลับอันน่าสะพรึงกลัวที่มาในรูปแบบของรอยยิ้ม
ถ้าให้สรุปภาพรวมแบบเร็ว ๆ ของหนังเรื่องนี้ ผู้เขียนคงสรุปว่า นี่ไม่ใช่จะสื่อถึงหนังผีแบบโต้งๆ นะครับ แต่เป็นหนังสยองขวัญกึ่ง ๆ หนังคำสาป กึ่ง ๆ หนังทริลเลอร์อะไรแบบนี้มากกว่า ซึ่งโทนของหนังก็จะออกไปทางหนังต้องคำสาปแนวคล้าย ๆ กับ ‘อย่าให้มันตามมา’ (2014), ‘บาบาดุค ปลุกปีศาจ’ (2014) หรือไม่ก็ย้อนไปไกลถึง ‘The Ring’ (2003) โน่นเลย เพียงแต่ว่าหนังเรื่องนี้เลือกที่จะเอาประเด็นเกี่ยวกับจิตวิทยามาเป็นธีมหลัก อาจจะยังไม่ถึงขั้นอาร์ตจ๋า ๆ ชวนตีความ แต่เป็นการนำเอาปัญหาด้านจิตวิทยามาเล่น เป็นขัดแย้งในอดีตให้ตัวเอกเผชิญกับการค้นหาที่มาของคำสาปยิ้มสยองซะมากกว่า
ซึ่งจริง ๆ ก็ต้องชมล่ะนะครับว่าตัวหนังสามารถเอาใจความสำคัญของปมปัญหาด้านจิตวิทยามาสะท้อนผ่านตัวหนังได้ ทั้งประเด็นเกี่ยวกับรอยยิ้ม รวมทั้ง Conflict ในแง่ของการสะท้อนให้เห็นภาพอันย้อนแย้งของจิตแพทย์ที่คอยรักษาคนที่มีปัญหาด้านจิตว่าเป็นคนที่น่าจะควบคุม รู้ทัน มีความชำนาญมากพอที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเอง และน่าจะรับมือกับอาการสติแตกได้ แต่ดันต้องมาเผชิญกับสภาวะที่ชวนให้หดหู่ หวาดกลัว ผวา โดนอดีตตามหลอกหลอนจวนเจียนจะสติแตกซะเอง ยิ่งพอมาขมวดกับใจความสำคัญของความที่คนรอบข้างเธอนั้นต่างก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่เธอเจอ และเธอเองก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายว่าไอ้คำสาปรอยยิ้มที่ทำให้คนตายนี่มันเป็นยังไง ก็ยิ่งชวนให้กดดัน สับสน ซึมเศร้า แปลกแยกหนักยิ่งขึ้นไปอีก
แล้วพอหมอโรสเจอกับ “Curse” ตัวหนังก็ยังแสดงให้เห็นสิ่งที่โรสเจอผ่านอารมณ์ความรู้สึก ความย้อนแย้งด้วยอาการต่าง ๆ ที่จะว่าไปแล้วก็สามารถสอดคล้องกันกับสภาวะอาการป่วยทางจิตที่พบได้ในทางจิตวิทยา ทั้งสภาวะทางจิตหลังเจอเหตุการณ์กระทบกระเทือนใจรุนแรง หรือ PTSD (ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง) โรคซึมเศร้า (Depression) โรคแพนิก (Panic Disorder) และโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือ OCD (วามผิดปกติ, การครอบงำ, บังคับ) ซึ่งสิ่งที่โรสกำลังเป็นหลังเจอเหตุการณ์นั้นก็ดูจะคล้ายกับรอยโรคที่บ่งชี้ให้ตีความได้ว่า เธอน่าจะกำลังมีสภาพทางจิตอะไรได้บ้าง ซึ่งมันก็สะท้อนให้เห็นว่าตัวหนังฉลาดในการหยิบเอาประเด็นจิตวิทยามารื้อสร้างใหม่ และสร้างบรรยากาศกดดันชวนให้สติแตกได้เข้าท่าดีทีเดียว
โดยสรุปแล้วก็เป็นหนังแนวต้องคำสาปที่มีไอเดียที่น่าติดตามเป็นอย่างมาก และแก่นเรื่องเองก็น่าสนใจอยู่ เพียงแต่ว่ามันยังไม่ได้รับการขยี้คลี่คลายปมออกมามากพอ ตัวหนังดูสนุกด้วยการเล่าเรื่องที่ตื่นเต้น ฉากสยองติดตาที่ชวนสะดุ้ง และฉากโหดที่ห้ามพาเด็ก ๆ มาดูเด็ดขาด (ถ้าไม่อยากให้น้อง ๆ ถึงกับแสดงอาการร้องไห้ฉี่แตกรดเบาะและกลับบ้านนอนไม่หลับ) แม้หลายคนอาจซึ้งกับปมดราม่าที่ปูไว้นิดหน่อย บางคนอาจไม่ซื้อกับการขมวดสรุปปมที่ชวนให้ร้องว่า วดฟ. แต่ยังไงซะก็ถือว่าเป็น “program” ที่น่าสนใจและเกินคาดสำหรับคอหนังสยองขวัญในช่วงฮาโลวีนนี้นะครับ หลังดูจบผู้เขียนเชื่อว่า อย่างน้อย ๆ ก็น่าจะทำให้มองรอยยิ้มของคนรอบข้างได้ไม่สนิทใจแน่ ๆ แหละ
รับชมตัวอย่างหนัง : Pam & Tommy เซ็กส์ รัก
ติดตามเพิ่มเติม : เว็บรีวิวหนัง
สามารถติดตามข่าวสารวงการภาพยนตร์เพิ่มเติมได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจของพวกเรา : FlowtheFlim